http://www.956intertrade.com

วิธีเลือกซื้อสินค้า

การเลือก  "เครื่องกำเนิดไฟฟ้า", " เครื่องปั่นไฟ" หรือ " ไดปั่นไฟ "

ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากต่อภาคการเกษตรและภาคส่วนงานการก่อสร้างต่าง ๆ 

นอกจากนี้แล้ว สำหรับผู้อยู่อาศัยในเขตรอบนอกกรุงเทพฯ ปริมณฑล หรือ จังหวัดต่าง ๆ ที่ประสบปัญหา " ไฟฟ้าดับบ่อย

ครั้ง " ก็สามารถนำไดปั่นไฟไปใช้เป็นแหล่งให้พลังงานไฟฟ้าสำรองได้อีกด้วย จากประโยชน์กว้างขวางทั้งในระดับ

อุตสาหกรรมและครัวเรือนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้ผลิตจึงได้แบ่งขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ ไดปั่นไฟ (ภาษาช่าง

นิยมเรียก " ไดไฟ ") ออกเป็น

** ขนาดเล็ก / กลาง - ใช้ในแหล่งเพาะปลูก ใช้ในระดับครัวเรือน เป็นแหล่งพลังงานสำรอง ใช้ในไซต์ก่อสร้าง ใช้ในงาน

เชื่อมโลหะ ฯลฯ เป็นต้น (ขนาดเล็กประมาณ 1-20 KVA, ขนาดกลางประมาณ 20-50 KVA)

 

** ขนาดใหญ่ - ใช้ในอุตสาหกรรมโรงงาน โรงแรม ฯลฯ (ประมาณ 50-1000 KVA ขึ้นไป )

 

** นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบันยังมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดพิเศษที่สามารถเชื่อมโลหะได้

 

           

         เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบนซิน                      เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเล็ก                                    เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อไดปั่นไฟ / เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 

- งบประมาณของท่าน

 

- ประเภทของการใช้งาน เช่น ใช้สำรองไฟเวลาเกิดไฟฟ้าดับ หรือใช้ต่ออุปกรณ์เพื่อทำงานกลางแจ้ง เป็นต้น

 

- สิ่งแวดล้อมที่จะนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปใช้ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีตู้เก็บเสียงเหมาะสำหรับพื้นที่ ที่ไม่ต้องการเสียง

รบกวน

 

- ระยะเวลาในการใช้งานในแต่ละครั้ง (เช่น ถ้าต้องการใช้เป็นแหล่งสำรองไฟดับ และบริเวณนั้นไฟดับไม่กี่ครั้งต่อปี แนะนำ

ให้ใช้เครื่องยนต์แบบมือฉุด เพราะเครื่องยนต์แบบกุญแจหรือการติดตั้งแผงควบคุมอัตโนมัตินั้น เมื่อไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ แผง

วงจร   อิเล็กทรอนิคส์อาจเสื่อมได้เพราะไม่มีไฟฟ้าไปเลี้ยงวงจรเป็นเวลานาน ๆ

 

-จำนวนและประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์ (บางทีเรียกว่า " โหลด) ที่จะนำมาต่อกับไดปั่นไฟ

 

*** ข้อสังเกตุ : สำหรับการใช้เพื่อสำรองไฟ ควรพิจารณาเป็นกรณี ไม่ใช่นำเอาค่าใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ทุกชนิดมารวมกัน

เพราะในชีวิตประจำวันเราไม่ได้เปิดเครื่องใช้ทุกชนิดที่มีอยู่ในบ้านในเวลาเดียวกัน

 

โดยจำแนกประเภทโหลดได้เป็น 2 ประเภท** กว้าง ๆ ดังนี้

 

- โหลดขนาดเล็ก (ไม่มีมอเตอร์ หรือ มีมอเตอร์ขนาดเล็กกินไฟไม่มาก ใช้งานไม่หนัก) ได้แก่ หลอดไฟ ทีวี หม้อหุงข้าว

วิทยุ ฯลฯ

 

- โหลดที่มีมอเตอร์กินไฟมาก หรือต้องถูกใช้งานหนัก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศ ปั๊มลม ปั๊มน้ำ อุปกรณ์เครื่องมือช่าง

ขนาดกลาง-ใหญ่ ฯลฯ (โหลดที่มีมอเตอร์ควรคำนวนการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 3-5 เท่า ของโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าเดิม

เนื่องจากมอเตอร์มีการกระชากไฟในช่วงสตาร์ท

 

หน่วยวัดค่าไฟฟ้า เกี่ยวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 

- แรงดันไฟฟ้า  คือ  ความสามารถในการผลักดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลท์ (V)   แรงดัน

ไฟฟ้าของประเทศไทยอยู่ที่ 220 V. ต่อ 1 เฟส

 

- กระแสไฟฟ้า คือ อิเล็กตรอนที่ไหลในตัวนำไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (A)

 

- กำลังวัตต์ คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เปลี่ยนจากกำลังไฟฟ้าเป็นพลังงานอย่างอื่น มีหน่วยเป็น วัตต์ (W)

 

- เควีเอ คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าให้โหลด (กิโลโวลท์ X แอมป์) มีหน่วยให้เป็น (KVA)

 

- Hertz คือ การสลับขั้วกระแสไฟฟ้าใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น Hz ในประเทศไทย อยู่ที่ 50 Hz

 

คุณสมบัติที่ดีของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าควรมี 

 

AVR (Automatic Voltage Regulator System) หมายถึง การรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับ 220 V. โดย

ผู้ใช้งานไม่ต้องทำการเร่ง หรือ ผ่อนเครื่องยนต์ เมื่อต้องการให้แรงดันไฟฟ้ามากขึ้น หรือ น้อยลง เครื่องจะทำการปรับแรง

ดันไฟฟ้าให้คงที่โดยอัตโนมัติ เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยมีระบบสตาร์ทด้วย รีโมทคอนโทรล เช่น พื้นที่หน้า

งานอาจจะไม่สะดวกในการเดินเข้าไปสตาร์ท ระบบสตาร์ทด้วยรีโมทจะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

 

 

หมายเหตุ :  ระบบ AVR ไม่สามารถใช้คู่กับระบบเชื่อมเหล็กได้ 

 

 

 

Visitors: 176,931